< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส การจัดการรายกรณีและการทำงานแบบสหวิชาชีพ

โมดูลที่ 1 - ความหมายและองค์ประกอบของการจัดการรายกรณี

บทเรียนที่ 2 - องค์ประกอบของการจัดการรายกรณี


การจัดการรายกรณีมีองค์ประกอบ(5) ดังนี้

  1. กฎหมาย (Functions) - มีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรง
  2. โครงสร้าง (Structures) – มีโครงสร้างการทำหน้าที่ของหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องตามระเบียบและกฎหมาย
  3. ศักยภาพ (Capacities) – มีความสามารถหรือศักยภาพ ผู้ปฏิบัติงานได้รับการอบรมให้มีความสามารถในการทำงานเกี่ยวกับความรุนแรง รวมทั้งมีทรัพยากรที่สนับสนุนการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ถูกกระทำความรุนแรงหรือกลุ่มเสี่ยง
  4. ความต่อเนื่อง (Continuum ) - มีความต่อเนื่องของการช่วยเหลือหรือระบบบริการ ทั้งที่เป็นการป้องกันหรือตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อช่วยเหลือต่อเนื่องจนผู้ถูกกระทำความรุนแรงสามารถช่วยเหลือตนเองได้
  5. กระบวนการดูแล (Process of Care) – มีกระบวนการดูแลผู้ถูกกระทำความรุนแรงหรือกลุ่มเสี่ยง โดยมีองค์กรหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบทำหน้าที่ให้บริการแก่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง
  6. ความน่าเชื่อและความรับผิดชอบ (Accountability) - มีความน่าเชื่อและความรับผิดชอบ เช่น มีการจดบันทึกการให้บริการหรือความช่วยเหลือที่ดำเนินการไปแล้ว และมีระบบกำกับ ติดตาม และประเมินผลการทำงานของระบบบริการด้านต่าง ๆ

(5) โสภา อ่อนโอภาส & นุชนาฎ ยูฮันเงาะ (2564). เครื่องมือในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ภาพประกอบบทเรียน



สารบัญ

การจัดการรายกรณีและการทำงานแบบสหวิชาชีพ ความหมายและองค์ประกอบของการจัดการรายกรณี การจัดการรายกรณีคืออะไร องค์ประกอบของการจัดการรายกรณี เป้าหมายและหลักการทำงานของผู้จัดการรายกรณี การทำหน้าที่ของผู้จัดการรายกรณี ขั้นตอนการทำงานของผู้จัดการรายกรณี ขั้นตอนการจัดการรายกรณีปัญหาความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ การดำเนินการตามแผน ข้อแนะนำในการจัดการรายกรณีขณะผู้เสียหายอยู่ระหว่างกระบวนการยุติธรรม การยุติการให้บริการ สหวิชาชีพและการทำงานแบบสหวิชาชีพ ความหมายและความสำคัญของสหวิชาชีพ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง