< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส การจัดการรายกรณีและการทำงานแบบสหวิชาชีพ

โมดูลที่ 2 - ขั้นตอนการทำงานของผู้จัดการรายกรณี

บทเรียนที่ 1 - ขั้นตอนการจัดการรายกรณีปัญหาความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ


การจัดการรายกรณีที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ดังภาพด้านล่าง โดยสังเกตได้ว่า ในการนำแผนการปฏิบัติงานมาใช้และการติดตามกรณีปัญหานั้น จะต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานอยู่เสมอ และอาจมีการเปลี่ยนแปลงแผนการปฏิบัติงาน ตลอดจนปรับเปลี่ยนและประเมินความต้องการของผู้เสียหาย รวมถึงข้อท้าทายใหม่ ๆ จนกระทั่งสามารถบรรลุเป้าหมายตามความต้องการของผู้เสียหายได้อย่างแท้จริง จึงจะสามารถจบการให้บริการได้

รายละเอียดการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนมีดังนี้ (8) (ดูภาพด้านล่าง)

แรกรับผู้เสียหาย การแนะนำตัว ประเมินความเสี่ยง

การรับแจ้งเบื้องต้น/ขั้นตอนแรกรับ/การเก็บรายละเอียดในขั้นตอนแรกรับ (Intake Process) ให้ความสำคัญกับการบันทึกรายละเอียดเบื้องต้น ได้แก่ ข้อมูลผู้แจ้ง รายละเอียดการแจ้ง วันเวลาที่รับแจ้ง สภาพของผู้ใช้บริการในขั้นตอนแรกรับ สภาพครอบครัวหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้แจ้งกับผู้ใช้บริการ รายละเอียดเกี่ยวกับผู้กระทำ การตัดสินใจรับเข้าสู่ระบบบริการขององค์กร ฯลฯ ซึ่งจะนำไปสู่ประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น โดยมีหลักการในการทำงานดังนี้

  • ทักทายทำความรู้จักและให้กำลังใจผู้เสียหาย
  • สร้างความไว้วางใจและความเป็นมิตร
  • ประเมินความปลอดภัยเบื้องต้น
  • อธิบายหลักการรักษาข้อมูลเป็นความลับให้แก่ผู้เสียหาย พร้อมทั้งแจ้งข้อยกเว้นในการรักษาความลับ
  • ขอและได้รับความยินยอม (Informed consent) จากผู้เสียหายสำหรับการให้บริการต่าง ๆ

ประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น

การประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น หมายถึง การประเมินข้อบ่งชี้ที่แสดงว่าผู้ใช้บริการ เช่น เด็กหรือผู้หญิง อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากความรุนแรงหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ให้ความช่วยเหลือ ว่าควรจัดให้มีบริการอย่างเร่งด่วนโดยทีมสหวิชาชีพตามกฎหมาย หรือยังสามารถรอได้แต่ต้องมีการเฝ้าระวังในชุมชน เป็นต้น

การประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น มีกระบวนการดังนี้

  • ทำความเข้าใจสถานการณ์ ข้อท้าทาย และระบุความต้องการเบื้องต้นของผู้เสียหาย
  • ให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจเบื้องต้น
  • ให้ข้อมูลด้านสังคม กฎหมาย และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ประเมินว่าผู้เสียหายต้องการบริการการจัดการรายกรณีหรือไม่

การวางแผนการทำงาน

การวางแผนการทำงาน คือ การนำผลการประเมินความเสี่ยงและสภาพปัญหามาวิเคราะห์และวินิจฉัย เพื่อกำหนดเป้าหมายและจัดลำดับความสำคัญของการจัดบริการและวางแผนการทำงานให้บริการ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา การบำบัดฟื้นฟู การคุ้มครอง หรือการป้องกันตามสถานการณ์ที่เหมาะสม แผนการทำงานให้บริการอาจเสนอเป็นแผนเฉพาะหน้าหรือแผนระยะสั้น และแผนระยะยาว ให้สอดคล้องกับการดำเนินการที่เป็นจริง ทั้งนี้ หากผู้ปฏิบัติงานมีการประชุมทีมสหวิชาชีพเพื่อจัดทำแผนการให้บริการ ก็จะยิ่งสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน เพราะจะช่วยให้แผนดังกล่าวมีความสอดคล้องเหมาะสมกับข้อเท็จจริงและสถานการณ์ปัญหามากขึ้น และนำไปสู่การมีส่วนร่วมของฝ่ายต่าง ๆ ในกระบวนการทำงานมากขึ้น

ตัวอย่างการวางแผนการทำงาน (ดูภาพด้านล่างสุด)


(8) Interagency Standing Committee (2017). Interagency gender-based violence case management guidelines. Geneva:IASC. P.44

ภาพประกอบบทเรียน ภาพประกอบบทเรียน



สารบัญ

การจัดการรายกรณีและการทำงานแบบสหวิชาชีพ ความหมายและองค์ประกอบของการจัดการรายกรณี การจัดการรายกรณีคืออะไร องค์ประกอบของการจัดการรายกรณี เป้าหมายและหลักการทำงานของผู้จัดการรายกรณี การทำหน้าที่ของผู้จัดการรายกรณี ขั้นตอนการทำงานของผู้จัดการรายกรณี ขั้นตอนการจัดการรายกรณีปัญหาความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ การดำเนินการตามแผน ข้อแนะนำในการจัดการรายกรณีขณะผู้เสียหายอยู่ระหว่างกระบวนการยุติธรรม การยุติการให้บริการ สหวิชาชีพและการทำงานแบบสหวิชาชีพ ความหมายและความสำคัญของสหวิชาชีพ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง