< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส การจัดการรายกรณีและการทำงานแบบสหวิชาชีพ

โมดูลที่ 2 - ขั้นตอนการทำงานของผู้จัดการรายกรณี

บทเรียนที่ 4 - การยุติการให้บริการ


ในการจัดการรายกรณี ผู้ปฏิบัติงานควรให้ความสำคัญกับความสมดุลของชีวิตผู้เสียหาย มุ่งเน้นทำงานให้ชีวิตของผู้เสียหายกลับคืนสู่สภาวะเดิมก่อนเกิดเหตุความรุนแรง หรือดีกว่าก่อนเกิดเหตุความรุนแรง การบริการจึงไม่ได้ยุติลงเมื่อคดีทางกฏหมายจบลงแล้ว การชนะหรือแพ้ในคดีความไม่ได้หมายความว่าชีวิตของผู้เสียหายได้กลับคืนสู่สภาวะปกติแล้วและเป็นเหตุผลให้ยุติบริการได้โดยปริยาย

การยุติการให้บริการจัดการรายกรณีจึงเกิดจากหลายเหตุผล เช่น(11)

  1. ผู้ใช้บริการบรรลุผลตามเป้าหมาย
  2. ผู้ใช้บริการหรือผู้จัดการรายกรณีถอนตัว หรือผู้ใช้บริการเสียชีวิต
  3. มีการส่งต่อไปยังหน่วยงานอื่นโดยสมบูรณ์ และผู้เสียหายไม่ต้องการใช้บริการจัดการรายกรณีอีกต่อไป
  4. ระบบสนับสนุนในชุมชนสามารถดูแลตอบสนองผู้เสียหายได้แล้วในระยะยาว ซึ่งเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงในชุมชนลง
  5. ผู้เสียหายสามารถเข้าถึงเครือข่ายทรัพยากรและบริการได้ด้วยตนเอง หากเกิดความรุนแรงซ้ำหรือมีปัญหาชีวิตในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น บริการด้านสุขภาพจิตระยะยาว
  6. ผู้เสียหายสามารถเดินเข้าสู่หนทางที่เขาจะแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้อย่างแท้จริง

แผนชีวิตระยะยาว

แผนชีวิต หรือแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรายบุคคล เป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยเหลือเด็กและครอบครัวที่ประสบปัญหาหรือข้อท้าทายในชีวิต และเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการช่วยให้ผู้เสียหายเห็นภาพการดูแลตนเองและการจัดการชีวิตในระยะยาว ครอบคลุมทุกมิติของชีวิต

แผนชีวิตเป็นการวางแผนแบบบูรณาการที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน การประสาน การติดตามและประเมินผลการช่วยเหลือตามแผน เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถกลับมามีคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน เป็นแผนที่แสดงให้เห็นการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อเป้าหมายเดียวกันของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ

แผนชีวิตระยะยาวที่ทำร่วมกันกับผู้เสียหาย อาจถูกใช้เป็นแนวทางในการกลับมาประเมินซ้ำหลังจากยุติการให้บริการไประยะหนึ่ง ว่าผู้เสียหายสามารถทำตามแผนได้หรือไม่

ตัวอย่างมิติชีวิตที่ควรวางแผนให้เป็นรูปธรรมโดยการทำงานร่วมกัน

  • ครอบครัว (ความผูกพัน-ความพร้อม)
  • บ้าน/ที่พักอาศัย (ความปลอดภัย/ความมั่นคง)
  • โรงเรียน/การศึกษา (การนำเด็กคืนสู่สภาวะปกติ)
  • เพื่อน/เพื่อนบ้าน (ความร่วมมือ/ความช่วยเหลือ)
  • การจัดการทรัพยากร (การแก้ไขข้อจำกัด/แสวงหาหรือระดมทรัพยากร)
  • การทำงาน/รายได้ของครอบครัว (ความมั่นคงทางรายได้ของครอบครัว)

(11) เรียบเรียงจากเนื้อหาการอบรม “การจัดการรายกรณีปัญหาความรุนแรงบนฐานเพศ”. โสภา อ่อนโอภาส วิทยากร. ปี 2564.

ภาพประกอบบทเรียน


ยินดีด้วย คุณจบโมดูล 2: ขั้นตอนการทำงานของผู้จัดการรายกรณี แล้ว

โมดูลต่อไป >
สหวิชาชีพและการทำงานแบบสหวิชาชีพ


สารบัญ

การจัดการรายกรณีและการทำงานแบบสหวิชาชีพ ความหมายและองค์ประกอบของการจัดการรายกรณี การจัดการรายกรณีคืออะไร องค์ประกอบของการจัดการรายกรณี เป้าหมายและหลักการทำงานของผู้จัดการรายกรณี การทำหน้าที่ของผู้จัดการรายกรณี ขั้นตอนการทำงานของผู้จัดการรายกรณี ขั้นตอนการจัดการรายกรณีปัญหาความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ การดำเนินการตามแผน ข้อแนะนำในการจัดการรายกรณีขณะผู้เสียหายอยู่ระหว่างกระบวนการยุติธรรม การยุติการให้บริการ สหวิชาชีพและการทำงานแบบสหวิชาชีพ ความหมายและความสำคัญของสหวิชาชีพ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง