< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส การจัดการรายกรณีและการทำงานแบบสหวิชาชีพ

โมดูลที่ 2 - ขั้นตอนการทำงานของผู้จัดการรายกรณี

บทเรียนที่ 3 - ข้อแนะนำในการจัดการรายกรณีขณะผู้เสียหายอยู่ระหว่างกระบวนการยุติธรรม


การดูแลผู้เสียหายระหว่างกระบวนการยุติธรรม

  • แจ้งให้ผู้เสียหายทราบเสมอ ว่าผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องกดดันตัวเองให้ฝืนสู้ในกระบวนการยุติธรรม ร่วมกันรับฟังและประเมินสภาพจิตใจของผู้เสียหาย เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถไปต่อได้ในกระบวนการยุติธรรมโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่จิตใจ
  • ช่วยเหลือวางแผนการรักษาสมดุลชีวิตของผู้เสียหายในระหว่างการดำเนินคดีความ เช่น การจัดการการเงิน อาชีพ และเวลา รวมถึงการประสานผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม เช่น จิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา เมื่อผู้เสียหายต้องการ
  • ร่วมวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้น เช่น ปัญหาการสอบปากคำซ้ำ หรือปัญหาสภาพจิตใจของผู้เสียหายในกรณีฉุกเฉิน เป็นต้น

บทบาทการทำงานเป็นทีมของผู้จัดการรายกรณี

  • เป็นตัวแทนรับฟังข้อกังวลและความต้องการของผู้เสียหายตลอดกระบวนการยุติธรรม นำข้อกังวลนั้นมาสื่อสารกับทีมสหวิชาชีพ เช่น หากผู้เสียหายไม่ต้องการพบผู้กระทำในระหว่างกระบวนการยุติธรรม ผู้จัดการรายกรณีควรทราบสิทธิต่าง ๆ ของผู้เสียหายและยืนยันกับทีมงานว่าผู้เสียหายมีสิทธินั้น
  • ช่วยติดตามความคืบหน้าของคดีความ และให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ ที่ผู้เสียหายร้องขอจากทีม
  • ปรับปรุงแผนการทำงานให้บริการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของผู้เสียหายอย่างทันท่วงที
  • ผู้จัดการรายกรณีอาจให้การสนับสนุนในการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับคดีความได้

การทำงานในชั้นศาลและชั้นสอบสวน

  • หากไม่สามารถติดต่อประสานงานเพื่อจัดหานักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ให้ร่วมสังเกตการณ์การสอบสวนและการขึ้นศาลได้ ผู้จัดการรายกรณีสามารถอยู่ร่วมในการสอบปากคำ และสามารถร่วมเข้าไปในศาลเพื่อให้การสนับสนุนทางจิตใจแก่ผู้เสียหายได้ ทั้งในฐานะผู้จัดการรายกรณีหรือบุคคลที่ผู้เสียหายไว้วางใจ
  • ผู้จัดการรายกรณีควรทราบถึงบริบทด้านสภาพแวดล้อม สังคม และลักษณะของกระบวนการยุติธรรมในพื้นที่ หรือประสานงานผู้ที่มีองค์ความรู้มาร่วมทีม และแจ้งแก่ผู้เสียหายว่ากระบวนการยุติธรรมในบริบทของสังคมนั้นมีข้อท้าทายอย่างไร ทั้งด้านเวลา การเงิน และอื่น ๆ จึงควรมีการวางแผนการปฏิบัติงานและแจ้งให้ผู้เสียหายทราบ
  • คอยระมัดระวังมายาคติทางเพศหรือความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกรณีความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ และการใช้อำนาจเหนือของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม




สารบัญ

การจัดการรายกรณีและการทำงานแบบสหวิชาชีพ ความหมายและองค์ประกอบของการจัดการรายกรณี การจัดการรายกรณีคืออะไร องค์ประกอบของการจัดการรายกรณี เป้าหมายและหลักการทำงานของผู้จัดการรายกรณี การทำหน้าที่ของผู้จัดการรายกรณี ขั้นตอนการทำงานของผู้จัดการรายกรณี ขั้นตอนการจัดการรายกรณีปัญหาความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ การดำเนินการตามแผน ข้อแนะนำในการจัดการรายกรณีขณะผู้เสียหายอยู่ระหว่างกระบวนการยุติธรรม การยุติการให้บริการ สหวิชาชีพและการทำงานแบบสหวิชาชีพ ความหมายและความสำคัญของสหวิชาชีพ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง