< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส การดําเนินงานทางกฏหมายและกระบวนการยุติธรรมกรณีความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงในชีวิตคู่

โมดูลที่ 4 - ข้อควรรู้ทางกฎหมายหากผู้เสียหายต้องการดำเนินคดี

บทเรียนที่ 2 - การเตรียมหลักฐานเมื่อจะไปแจ้งความร้องทุกข์


ในการแจ้งความ พยานหลักฐานที่สามารถนำมาประกอบได้มีสามรูปแบบ คือ พยานวัตถุ พยานเอกสาร และพยานบุคคล

  • มาตรา 238 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา วางหลักไว้ว่า พยานเอกสารต้องอ้างต้นฉบับเอกสาร หากไม่สามารถหาต้นฉบับได้ สามารถใช้วิธีการรับรองสำเนาถูกต้อง หรืออ้างพยานบุคคลที่รู้ข้อความ กรณีเอกสารหนังสือราชการ สามารถใช้สำเนาที่เจ้าหน้าที่รับร้องว่าถูกต้องแทนต้นฉบับ
  • เอกสารที่แสดงความสัมพันธ์ เช่น ทะเบียนสมรส ภาพถ่ายครอบครัว เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์การเป็นบุคคลในครอบครัว อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่จดทะเบียนแต่อยู่กินกันฉันสามีภรรยาก็มีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและขอคุ้มครองสวัสดิภาพ
  • ภาพถ่ายบาดแผล
  • คลิปวิดีโอเหตุการณ์
  • หลักฐานการสื่อสารทางสื่อออนไลน์ เช่น ไลน์ เฟสบุ๊ค
  • ใบรับรองแพทย์

ในการขอพยานหลักฐานหรือคำรับรองจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์ มาตรา 243 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา วางหลักไว้ว่า ผู้ใดโดยอาชีพหรือมิใช่ก็ตามมีความเชี่ยวชาญในการใด ๆ เช่น ในทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ฝีมือ พาณิชยการ การแพทย์ หรือกฎหมายต่างประเทศ และความเห็นของผู้นั้นอาจมีประโยชน์ในการวินิจฉัยคดี ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา อาจให้บุคคลนั้นเป็นพยานในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้นว่า ตรวจร่างกายหรือจิตของผู้เสียหาย ผู้ต้องหาหรือจําเลย ตรวจลายมือ ทําการทดลองหรือกิจการอย่างอื่น ๆ ผู้เชี่ยวชาญอาจทําความเห็นเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องส่งสําเนาหนังสือดังกล่าวให้ศาลและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบ

  • พยานบุคคล ผู้เสียหายเป็นพยานปากเดียวย่อมเพียงพอแล้ว หากมีพยานบุคคลอื่น ๆ ด้วยก็ช่วยให้มีน้ำหนักมากขึ้น
  • ใบแจ้งความในคดีก่อน (ถ้ามี)

นอกจากนี้ผู้เสียหายอาจลองเรียบเรียงเหตุการณ์เป็นเอกสารก่อน เพื่อป้องกันการถามข้อมูลซ้ำซ้อน พนักงานเจ้าหน้าที่ควรมีบทบาทสำคัญในการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้เสียหาย และไม่ให้เกิดการซักถามที่อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจอย่างร้ายแรงแก่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว

ข้อควรระวัง:

ความรุนแรงในครอบครัวมีความละเอียดอ่อน ซับซ้อน ผู้เสียหายอาจไม่สามารถรวบรวมหลักฐานได้ด้วยตัวเอง พนักงานเจ้าหน้าที่และพนักงานสอบสวนควรทำงานอย่างระมัดระวัง ให้มีการประสานงานให้ตำรวจฝ่ายสืบสวนทำหน้าที่ติดตามหาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง




สารบัญ

การดําเนินงานทางกฏหมายและกระบวนการยุติธรรมกรณีความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงในชีวิตคู่ ความรุนแรงในครอบครัวเป็นความผิดตามกฎหมาย ความรุนแรงในครอบครัวเป็นความผิดตามกฎหมาย บทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐในการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว บทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐในการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว การคุ้มครองสวัสดิภาพผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว การคุ้มครองสวัสดิภาพผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ข้อควรรู้ทางกฎหมายหากผู้เสียหายต้องการดำเนินคดี กระบวนการดำเนินคดีอาญาเบื้องต้น การเตรียมหลักฐานเมื่อจะไปแจ้งความร้องทุกข์ กระบวนการยุติธรรมในชั้นตำรวจ สิทธิในการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาหรือขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา สิทธิของผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ หน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวน การส่งสำนวนฟ้องให้อัยการ ขั้นตอนการฟ้องคดีต่อศาล การไกล่เกลี่ย การตั้งผู้ประนีประนอม สิทธิการเยียวยา สิทธิการได้รับการเยียวยาคืออะไร กองทุนยุติธรรม