< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส การดําเนินงานทางกฏหมายและกระบวนการยุติธรรมกรณีความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงในชีวิตคู่

โมดูลที่ 4 - ข้อควรรู้ทางกฎหมายหากผู้เสียหายต้องการดำเนินคดี

บทเรียนที่ 7 - การส่งสำนวนฟ้องให้อัยการ


พนักงานสอบสวนต้องส่งตัวผู้กระทำผิด สำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังพนักงานอัยการ เพื่อฟ้องคดีการกระทำอันเป็นความรุนแรงในครอบครัวต่อศาลเยาวชนและครอบครัวภายใน 48 ชั่วโมงนับแต่ได้ตัวผู้กระทำ แต่หากมีเหตุจำเป็นทำให้ไม่อาจยื่นฟ้องได้ในกำหนดเวลา ให้ผัดฟ้องได้คราวละไม่เกิน 6 วันและไม่เกิน 3 ครั้ง

“พนักงานอัยการ” หมายความถึงเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอํานาจเช่นนั้นก็ได้ เมื่อตำรวจส่งสำนวนให้แก่อัยการแล้ว อัยการมีหน้าที่ตรวจสอบความละเอียดรัดกุม ตลอดจนความสมบูรณ์ของพยานหลักฐานในสำนวน หากมีพยานหลักฐานที่เพียงพอพิสูจน์ความผิด พนักงานอัยการมีหน้าที่สั่งฟ้อง แต่หากพยานหลักฐานไม่เพียงพอฟังว่าผู้ต้องหากระทำความผิด อัยการจะพิจารณาไม่ฟ้อง ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิของผู้เสียหายในการฟ้องคดีเองได้(29)


(29) พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550, มาตรา 8 วรรคหนึ่ง และ วรรคสอง




สารบัญ

การดําเนินงานทางกฏหมายและกระบวนการยุติธรรมกรณีความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงในชีวิตคู่ ความรุนแรงในครอบครัวเป็นความผิดตามกฎหมาย ความรุนแรงในครอบครัวเป็นความผิดตามกฎหมาย บทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐในการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว บทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐในการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว การคุ้มครองสวัสดิภาพผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว การคุ้มครองสวัสดิภาพผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ข้อควรรู้ทางกฎหมายหากผู้เสียหายต้องการดำเนินคดี กระบวนการดำเนินคดีอาญาเบื้องต้น การเตรียมหลักฐานเมื่อจะไปแจ้งความร้องทุกข์ กระบวนการยุติธรรมในชั้นตำรวจ สิทธิในการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาหรือขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา สิทธิของผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ หน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวน การส่งสำนวนฟ้องให้อัยการ ขั้นตอนการฟ้องคดีต่อศาล การไกล่เกลี่ย การตั้งผู้ประนีประนอม สิทธิการเยียวยา สิทธิการได้รับการเยียวยาคืออะไร กองทุนยุติธรรม