< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส การดําเนินงานทางกฏหมายและกระบวนการยุติธรรมกรณีความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงในชีวิตคู่

โมดูลที่ 5 - สิทธิการเยียวยา

บทเรียนที่ 1 - สิทธิการได้รับการเยียวยาคืออะไร


สิทธิของผู้เสียหายตาม พ.ร.บ. ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544

ผู้เสียหายที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตาม พ.ร.บ. ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 หมายถึง “บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือร่างกายหรือจิตใจเนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น โดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้น”

ผู้เสียหายสามารถยื่นคำขอได้ที่

  • กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ กรุงเทพมหานคร
  • สำนักงานคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พื้นที่ 1–4 (พระนครศรีอยุธยา ขอนแก่น เชียงใหม่ สงขลา)
  • สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทุกแห่ง
  • สถานีตำรวจทุกสถานี
  • สถาบันนิติวิทยาศาสตร์

ทั้งนี้ สามารถยื่นคำขอได้ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รู้ถึงการกระทำความผิด หรือนับแต่วันที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง หรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี

ความหมายของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ พ.ร.บ. ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ นั้นมีความแตกต่างกัน เพราะผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีการนิยามให้หมายถึงผู้เสียหายซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิในการดำเนินคดี และยังหมายความรวมถึงบุคคลที่มีอำนาจจัดการแทน แต่ความหมายผู้เสียหายตาม พ.ร.บ. ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ เป็นการกำหนดความหมายสำหรับบุคคลผู้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนที่รัฐจ่ายให้เพื่อเยียวยาความเสียหาย ความหมายจึงแคบกว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะผู้เสียหายที่จะได้รับการค่าตอบแทนต้องเป็นผู้เสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย หรือจิตใจ

“ค่าตอบแทน” หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเพื่อตอบแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นจากหรือเนื่องจากมีการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น

มาตรา 5 การเรียกร้องหรือการได้มาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ตาม พ.ร.บ. นี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ผู้เสียหายหรือจำเลยพึงได้ตามกฎหมายอื่น

มาตรา 6 ในกรณีที่ผู้เสียหายหรือจำเลยถึงแก่ความตายก่อนที่จะได้รับค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่าย แล้วแต่กรณี ให้สิทธิในการเรียกร้องและการรับค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่ายตกแก่ทายาทซึ่งได้รับความเสียหายของผู้เสียหายหรือจำเลยนั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา 17 ความผิดที่กระทำต่อผู้เสียหายอันอาจขอรับค่าตอบแทนได้ ต้องเป็นความผิดตามรายการที่ระบุไว้ท้าย พ.ร.บ.

ทั้งนี้ ท้าย พ.ร.บ. ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ ระบุความผิดซึ่งทำให้ผู้เสียหายอาจขอรับค่าตอบแทนตามมาตรา 17 ได้แก่ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ มาตรา 276 ถึง มาตรา 287 ลักษณะ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย หมวด 1 ความผิดต่อชีวิต มาตรา 288 ถึง มาตรา 294 หมวด 2 ความผิดต่อร่างกาย มาตรา 295 ถึง มาตรา 300 หมวด 3 ความผิดฐานทำให้แท้งลูก มาตรา 301 ถึง มาตรา 305 หมวด 4 ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บ หรือชรา มาตรา 306 ถึง มาตรา 308

มาตรา 18 ค่าตอบแทนตามมาตรา 17 ได้แก่

  1. ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
  2. ค่าตอบแทนในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย จำนวนไม่เกินที่กำหนดในกฎกระทรวง
  3. ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
  4. ค่าตอบแทนความเสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร

ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

คณะกรรมการจะกำหนดให้ผู้เสียหายได้รับค่าตอบแทนเพียงใดหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์และความร้ายแรงของการกระทำความผิด และสภาพความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับ รวมทั้งโอกาสที่ผู้เสียหายจะได้รับการบรรเทาความเสียหายโดยทางอื่นด้วย

กระทรวงยุติธรรม (2564). การจ่ายเงินเยียวยาผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา.

อัตราการจ่ายเงินค่าเยียวยา

ผู้เสียหายทั่วไป

  • ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล จ่ายตามจริง ไม่เกิน 40,000 บาท
  • ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ จ่ายตามจริง ไม่เกิน 20,000 บาท
  • ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ วันละไม่เกิน 300 บาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
  • ค่าตอบแทนความเสียหายอื่น ไม่เกิน 50,000 บาท
  • ค่าห้องและค่าอาหาร (รวมค่ารักษาและค่าฟื้นฟู) วันละไม่เกิน 1,000 บาท

ผู้เสียหายที่เสียชีวิต

  • ค่าตอบแทนในกรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตาย: 30,000-100,000 บาท
  • ค่าจัดการศพ 20,000 บาท
  • ค่าขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู ไม่เกิน 40,000 บาท
  • ค่าเสียหายอื่น ไม่เกิน 40,000 บาท(34)

เอกการประกอบการยื่นขอรับความช่วยเหลือผู้เสียหาย

  • แบบรับคำขอ (สชง.1/01 หรือ สชง.1/03)
  • หนังสือมอบอำนาจ
  • สำเนาใบรับรองแพทย์
  • บัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง)
  • สำเนาใบชันสูตรบาดแผล/สำเนาใบมรณบัตร
  • สำเนารายงานบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี
  • สำเนาทะเบียนสมรส
  • ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (ฉบับจริง)

กรณีผู้เสียหายขอรับค่าตอบแทน ผู้เสียหายต้องขอรับสิทธิภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้ถึงการกระทำความผิด

*หากพนักงานเจ้าหน้าที่ระบุในเอกสาร สงช 1/03 ว่าผู้ถูกกระทำอาจมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด ผู้ถูกกระทำสามารถทำหนังสือเป็นจดหมายร้องเรียนต่อกระทรวงยุติธรรม เพื่อร้องเรียนการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ที่กีดกันการเข้าถึงสิทธิของตนได้


(34) กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม. ค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา

ภาพประกอบบทเรียน ภาพประกอบบทเรียน ภาพประกอบบทเรียน



สารบัญ

การดําเนินงานทางกฏหมายและกระบวนการยุติธรรมกรณีความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงในชีวิตคู่ ความรุนแรงในครอบครัวเป็นความผิดตามกฎหมาย ความรุนแรงในครอบครัวเป็นความผิดตามกฎหมาย บทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐในการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว บทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐในการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว การคุ้มครองสวัสดิภาพผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว การคุ้มครองสวัสดิภาพผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ข้อควรรู้ทางกฎหมายหากผู้เสียหายต้องการดำเนินคดี กระบวนการดำเนินคดีอาญาเบื้องต้น การเตรียมหลักฐานเมื่อจะไปแจ้งความร้องทุกข์ กระบวนการยุติธรรมในชั้นตำรวจ สิทธิในการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาหรือขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา สิทธิของผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ หน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวน การส่งสำนวนฟ้องให้อัยการ ขั้นตอนการฟ้องคดีต่อศาล การไกล่เกลี่ย การตั้งผู้ประนีประนอม สิทธิการเยียวยา สิทธิการได้รับการเยียวยาคืออะไร กองทุนยุติธรรม