< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส แนวทางเบื้องต้นในการทำงานกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว

โมดูลที่ 1 - สภาวะทางจิตใจ ปฏิกิริยาทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้เสียหาย และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น

บทเรียนที่ 3 - สมองในขณะถูกกระทำความรุนแรง


สมองและระบบร่างกายของคนเรามีการตอบโต้ต่อสถานการณ์อันตราย โดยมีคำเรียกภาษาอังกฤษว่า Acute Stress responses สามารถแบ่งได้เป็น 3 ภาวะหลัก คือ(3)

  • ภาวะ Fight หรือการสู้กลับ ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อสัญชาติญาณของคนเราตื่นตัวขึ้นมาเมื่อเจอกับอันตรายหรือความรุนแรง และประเมินว่าตนเองมีกำลังพอที่จะสู้กลับได้ ระบบร่างกายจะถูกกระตุ้นให้อยู่ในสภาวะที่พร้อมต่อสู้ ก่อนกลับสู่สภาวะปกติอีกครั้งหลังเหตุการณ์ผ่านพ้นไปแล้ว
  • ภาวะ Flight หรือการหนี คือตัวเลือกต่อไปหลังจากที่ประเมินแล้วว่าไม่สามารถสู้กลับได้ โดยระบบร่างกายจะถูกกระตุ้นในลักษณะเดียวกับการสู้กลับ เพื่อให้มีสภาวะที่พร้อมสำหรับการหนีให้พ้นจากสถานการณ์อันตรายหรือความรุนแรง
  • ภาวะ Freeze หรือการชะงัก นิ่งเฉย มึนชา ไม่ตอบโต้ใด ๆ เป็นความพยายามเอาตัวรอดอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเกิดในสภาวะที่สมองประเมินว่าไม่สามารถสู้กลับหรือหนีพ้นจากอันตรายได้

นอกจากนี้แล้ว ยังมีภาวะอื่น ๆ อีกเช่น การตัดขาดตัวเองออกจากสภาวะความเป็นจริงตรงหน้า ปล่อยให้ตนเองถูกกระทำจนกว่าผู้กระทำจะพอใจแล้วหยุดไปเอง ภาวะนี้อาจรวมถึงภาวะจิตแตกแยก (Depersonalization /Derealization) คือการที่สมองส่วนหน้าเข้ามาหยุดยั้งการทำงานของสมองส่วนอารมณ์ เนื่องจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นเกินกว่าที่ผู้ถูกกระทำจะรับไหว ภาวะที่ไม่สามารถจดจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เลยเพราะสมองประเมินแล้วว่าหากจดจำได้จะเป็นความบาดเจ็บทางใจเกินกว่าที่ผู้ถูกกระทำจะรับได้ หรือการพยายามเป็นมิตรกับผู้กระทำและพยามสนองตอบความต้องการของผู้กระทำความรุนแรงเพื่อเอาตัวรอด ซึ่งพบในผู้ที่ถูกทารุณกรรมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน มีภาวะสิ้นหวัง ไม่เห็นโอกาสใดในอนาคตว่าตนจะสามารถหลุดรอดออกจากความรุนแรงที่เกิดอย่างต่อเนื่องยาวนานนี้ได้ ผู้ที่ถูกทารุณมาเป็นระยะเวลานานจึงจำต้องพัฒนาทักษะในการอยู่รอด โดยการพยายามทำให้ผู้กระทำความรุนแรงพึงพอใจ เช่นในกรณีของเด็กที่ถูกทารุณกรรม

การตอบสนองต่อสถานการณ์ที่รุนแรงนี้เกิดขึ้นในเสี้ยววินาทีเพื่อตอบสนองต่ออันตรายที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คล้ายกับสัตว์แกล้งตายเมื่อเจอผู้ล่า การพองขน หรือการสปริงตัวหนีอย่างรวดเร็ว พบได้ทั้งในสัตว์และมนุษย์ เพราะมนุษย์เองก็เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่งเช่นกัน


(3) เรียบเรียงจากเนื้อหาการอบรมงานคุ้มครองเด็ก. จัดโดย โรงพยาบาลธรรมศาสตร์. ปี 2564.

ภาพประกอบบทเรียน



สารบัญ

แนวทางเบื้องต้นในการทำงานกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว สภาวะทางจิตใจ ปฏิกิริยาทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้เสียหาย และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น สภาวะทางจิตใจ ปฏิกิริยาทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้เสียหาย และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น ผลกระทบของความรุนแรงต่อสมองของผู้เสียหาย สมองในขณะถูกกระทำความรุนแรง สภาวะทางสุขภาพจิตอื่นๆ การดูแลสุขภาพจิตใจในสภาวะฉุกเฉิน การฟัง เตรียมตัวก่อนการรับฟัง การรับฟัง การสะท้อนความรู้สึก Reflection of feelings การบอกจุดแข็งและข้อจำกัด เทคนิคการฟังอย่างง่าย ทบทวนหลักการรับฟัง การประเมินความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงคืออะไร การประเมินความเสี่ยงในกรณีความรุนแรงในครอบครัว การประเมินความเสี่ยงในกรณีความรุนแรงในครอบครัว การระบุสถานการณ์ที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้เสียหาย การวางแผนความปลอดภัย การวางแผนเพื่อความปลอดภัย เครื่องมืออื่น ๆ ในการแสวงหาข้อมูลประกอบการวางแผนช่วยเหลือผู้เสียหาย การแสวงหาข้อเท็จจริง/การสืบค้นข้อเท็จจริง (Fact finding) การทำแผนผังครอบครัว และแผนผังนิเวศน์ ลำดับเหตุการณ์ในชีวิต สรุปแนวทางเบื้องต้นในการทำงานกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว