< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส แนวทางเบื้องต้นในการทำงานกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว

โมดูลที่ 2 - การฟัง

บทเรียนที่ 2 - การรับฟัง


เริ่มต้นแนะนำตัว

เมื่ออยู่ในสถานที่ที่ผู้เสียหายรู้สึกว่าปลอดภัยและมีการเตรียมตัวเรียบร้อยแล้ว และความต้องการเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ ของผู้เสียหายได้รับการตอบสนองแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการสร้างความไว้ใจ ทำความรู้จัก สร้างความมั่นใจ เชื่อใจ ดังนี้

  • ทักทายทำความรู้จักและให้กำลังใจผู้เสียหาย
  • สร้างความไว้วางใจและความเป็นมิตร
  • ประเมินความปลอดภัยเบื้องต้น
  • อธิบายหลักการรักษาข้อมูลเป็นความลับให้ผู้เสียหายทราบ พร้อมแจ้งกรณีอันมีข้อยกเว้น
  • ขอความยินยอมจากผู้เสียหายในการเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือ (Informed consent)

การสะท้อนและสรุปความ Paraphrasing(8)

คือการที่ผู้ฟังพูดทวนสิ่งที่ผู้เสียหายเล่ามา เพื่อให้ผู้เสียหายได้ทบทวนสิ่งที่ตนเล่าและคิดพิจารณาตาม เหมือนกับการได้มองเห็นตนเองในกระจกเงา

การทวนความไม่ใช่การพูดทวนทุกคําที่ผู้เสียหายพูด แต่เน้นทวนใจความสําคัญที่จะให้คิดทบทวน และอาจเน้นจุดที่เป็นความเข้มแข็ง เป็นอำนาจภายในของผู้เสียหายที่ตัวเขาได้พูดออกมาเอง หรือเป็นเรื่องดีๆ ที่สอดแทรกอยู่

อีกเทคหนึ่งหนึ่งในการสะท้อนและสรุปความ คือ เทคนิคการเชื่อมโยงเหตุการณ์ที่เป็นเหตุเป็นผลกัน หรือการตีความ (Interpretation ) เป็นการที่ผู้ให้การปรึกษากล่าวถึงสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่ผู้เสียหายเล่าในลักษณะของเหตุและผล เพื่อให้ผู้เสียหายเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองและสภาพการณ์ที่เกี่ยวข้อง เข้าใจถึงสาเหตุที่ทําให้เกิดปัญหา หรือสิ่งทําให้เกิดความไม่สบายใจ

นอกจากนี้แล้ว ระหว่างการฟังเราอาจได้ยินข้อมูลที่ขัดแย้งกัน ในการบอกให้ผู้เสียหายตระหนักถึงความขัดแย้งนั้น (confrontation) ไม่ควรใช้คำว่า “แต่” ควรใช้คำว่า “และ” เพื่อไม่ให้ผู้เสียหายรู้สึกว่าเรากำลังจับผิด ตำหนิ หรือคาดคั้น เช่น “คุณรักพ่อแม่ และคุณก็รู้สึกอึดอัดใจในความเคร่งครัดของท่าน”

Tips: ในการสรุปความ

เพื่อไม่ให้ดูเหมือนผู้ฟังมีความมั่นใจในตัวเองมากเกินไป เราอาจเริ่มต้นประโยคด้วยคำว่า “ฟังดูเหมือนว่า” “ดูเหมือนว่า” เช่น “ฟังดูเหมือนว่าคุณรักพ่อแม่ และคุณก็รู้สึกอึดอัดใจในความเคร่งครัดของท่าน”


(8) เรียบเรียงจากเนื้อหาการอบรมงานคุ้มครองเด็ก จัดโดย โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ปี 2564.




สารบัญ

แนวทางเบื้องต้นในการทำงานกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว สภาวะทางจิตใจ ปฏิกิริยาทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้เสียหาย และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น สภาวะทางจิตใจ ปฏิกิริยาทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้เสียหาย และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น ผลกระทบของความรุนแรงต่อสมองของผู้เสียหาย สมองในขณะถูกกระทำความรุนแรง สภาวะทางสุขภาพจิตอื่นๆ การดูแลสุขภาพจิตใจในสภาวะฉุกเฉิน การฟัง เตรียมตัวก่อนการรับฟัง การรับฟัง การสะท้อนความรู้สึก Reflection of feelings การบอกจุดแข็งและข้อจำกัด เทคนิคการฟังอย่างง่าย ทบทวนหลักการรับฟัง การประเมินความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงคืออะไร การประเมินความเสี่ยงในกรณีความรุนแรงในครอบครัว การประเมินความเสี่ยงในกรณีความรุนแรงในครอบครัว การระบุสถานการณ์ที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้เสียหาย การวางแผนความปลอดภัย การวางแผนเพื่อความปลอดภัย เครื่องมืออื่น ๆ ในการแสวงหาข้อมูลประกอบการวางแผนช่วยเหลือผู้เสียหาย การแสวงหาข้อเท็จจริง/การสืบค้นข้อเท็จจริง (Fact finding) การทำแผนผังครอบครัว และแผนผังนิเวศน์ ลำดับเหตุการณ์ในชีวิต สรุปแนวทางเบื้องต้นในการทำงานกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว