< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส แนวทางเบื้องต้นในการทำงานกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว

โมดูลที่ 3 - การประเมินความเสี่ยง

บทเรียนที่ 3 - การระบุสถานการณ์ที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้เสียหาย


การระบุสถานการณ์ที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้เสียหาย

ผู้ใช้ความรุนแรงแต่ละคนมีรูปแบบการใช้ความรุนแรงแตกต่างกันไป ส่วนหนึ่งในการประเมินความปลอดภัยควรเป็นการระบุและเข้าใจรูปแบบการกระทำรุนแรงนั้นๆ การประเมินปัจจัยดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เสียหายได้วางแผน หลีกเลี่ยง และแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ดีกว่า ผู้หญิงบางคนก็รับรู้ถึงรูปแบบการใช้ความรุนแรงและความเสี่ยงที่ตนประสบอยู่แล้ว แต่บางคนก็ต้องการให้ผู้ปฏิบัติงานช่วยวิเคราะห์ตามสถานการณ์เพื่อระบุรูปแบบความรุนแรงและความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

เราสามารถใช้คำถามเพื่อสนับสนุนให้ผู้เสียหายได้ทบทวนเหตุการณ์ที่ผ่านมา เพื่อช่วยในการประเมินความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น

  • ถ้าเป็นไปได้ อยากให้คุณช่วยเล่าถึงช่วงเวลาที่คุณรู้สึกไม่ปลอดภัยมากที่สุดเมื่ออยู่กับสามี/แฟน
  • ในเวลาที่คุณรู้สึกไม่ปลอดภัย คุณสังเกตเห็นอะไรในตัวของสามี/แฟนบ้าง (เขากำลังทำอะไร สภาพจิตใจของเขาเป็นอย่างไร)
  • รอบตัวคุณเกิดอะไรขึ้นบ้างในขณะที่คุณรู้สึกไม่ปลอดภัย (คุณกำลังอยู่ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งหรือไม่ หรือเป็นเวลาใดเวลาหนึ่ง อยู่กับสามี/แฟนเพียงลำพังหรือไม่ ถ้าไม่ได้อยู่กันเพียงลำพัง มีใครอยู่ด้วยบ้าง)
  • คุณได้สังเกตเห็นอะไรบางอย่างโดยเฉพาะก่อนที่จะเกิดความรุนแรงนั้นหรือไม่

ประเมินความเสี่ยงต่อการทวีความรุนแรง

ความเข้าใจในประวัติและพฤติกรรมรุนแรงที่ผ่านมาของผู้ใช้ความรุนแรงสามารถช่วยผู้เสียหายในการประเมินความเสี่ยงอันตรายของตนเองในปัจจุบันได้ดีขึ้น สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสำหรับการประเมินความเสี่ยง เนื่องจากความเสี่ยงต่อความรุนแรงมักเพิ่มขึ้นเมื่อผู้กระทำทราบว่าผู้เสียหายกำลังแสวงหาความช่วยเหลือ

เครื่องมือสำหรับการประเมินความเสี่ยงด้านล่างนี้สามารถช่วยประเมินระดับความอันตรายในปัจจุบันได้ การตอบว่า “ใช่” ในคำถามใดคำถามหนึ่ง จะส่งผลให้ผลการเมินความเสี่ยงต่อความรุนแรงของผู้เสียหายออกมาในระดับที่สูงขึ้น ความเสี่ยงอันตรายในอนาคตอาจออกมาสูงขึ้นอีกจากการตอบว่า “ใช่” ในข้ออื่นที่เพิ่มเติมเข้ามา เราต้องพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ในการวางแผนความปลอดภัยของผู้เสียหาย เพราะมันหมายความว่าการกระทำใด ๆ ของผู้เสียหาย (รวมทั้งการมาหาผู้ให้ความช่วยเหลือ) คือความเสี่ยงอย่างยิ่ง

ตัวอย่างบทพูด

ในการแนะนำให้รู้จักกับเครื่องมือการประเมินความเสี่ยง เราสามารถใช้คำพูดดังนี้: ฉันขออนุญาตถามเกี่ยวกับความรุนแรงที่คุณเคยประสบและพฤติกรรมของสามีคุณ คำถามบางข้ออาจเป็นเรื่องที่ตอบได้ยาก ขอให้คุณพยายามตอบเท่าที่ตอบได้ก็พอ และหากคุณต้องการพักหรือไม่ต้องการที่จะตอบบางคำถาม คุณก็สามารถบอกฉันได้ ฉันจะอ่านคำถามทีละข้อ และในการตอบคำถาม ขอให้คุณตอบว่า “ใช่” “ไม่ใช่” หรือ “ไม่รู้”

ภาพประกอบบทเรียน


ยินดีด้วย คุณจบโมดูล 3: การประเมินความเสี่ยง แล้ว

โมดูลต่อไป >
การวางแผนความปลอดภัย


สารบัญ

แนวทางเบื้องต้นในการทำงานกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว สภาวะทางจิตใจ ปฏิกิริยาทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้เสียหาย และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น สภาวะทางจิตใจ ปฏิกิริยาทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้เสียหาย และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น ผลกระทบของความรุนแรงต่อสมองของผู้เสียหาย สมองในขณะถูกกระทำความรุนแรง สภาวะทางสุขภาพจิตอื่นๆ การดูแลสุขภาพจิตใจในสภาวะฉุกเฉิน การฟัง เตรียมตัวก่อนการรับฟัง การรับฟัง การสะท้อนความรู้สึก Reflection of feelings การบอกจุดแข็งและข้อจำกัด เทคนิคการฟังอย่างง่าย ทบทวนหลักการรับฟัง การประเมินความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงคืออะไร การประเมินความเสี่ยงในกรณีความรุนแรงในครอบครัว การประเมินความเสี่ยงในกรณีความรุนแรงในครอบครัว การระบุสถานการณ์ที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้เสียหาย การวางแผนความปลอดภัย การวางแผนเพื่อความปลอดภัย เครื่องมืออื่น ๆ ในการแสวงหาข้อมูลประกอบการวางแผนช่วยเหลือผู้เสียหาย การแสวงหาข้อเท็จจริง/การสืบค้นข้อเท็จจริง (Fact finding) การทำแผนผังครอบครัว และแผนผังนิเวศน์ ลำดับเหตุการณ์ในชีวิต สรุปแนวทางเบื้องต้นในการทำงานกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว