< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส แนวทางเบื้องต้นในการทำงานกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว

โมดูลที่ 1 - สภาวะทางจิตใจ ปฏิกิริยาทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้เสียหาย และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น

บทเรียนที่ 5 - การดูแลสุขภาพจิตใจในสภาวะฉุกเฉิน


เรามักเคยได้ยินหลักการการปฐมพยาบาลทางกายในภาวะฉุกเฉิน เช่น การปั๊มหัวใจ การผายปอด การห้ามเลือดและอื่น ๆ จิตใจของคนเราที่เจอกับสถานการณ์ฉุกเฉินก็ต้องการการปฐมพยาบาลเช่นเดียวกัน

ความรุนแรงทุกรูปแบบมักมีผลต่อสภาพจิตใจ ก่อให้เกิดบาดแผลทางใจหรือ Trauma และภาวะผิดปกติทางอารมณ์อื่น ๆ ยิ่งหากผู้เสียหายจำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ความเครียดระหว่างกระบวนการดังกล่าวอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้เสียหายรู้สึกตกอยู่ในอันตราย และมีปฏิกิริยาตอบสนองในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นทำร้ายตนเองหรือพยายามฆ่าตัวตาย ในกรณีนี้ แนวทางการปฐมพยาบาลทางจิตใจที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้มีหลายแนวทาง แต่ละแนวทางมีความคล้ายคลึงกัน ยกตัวอย่างเช่น

1.หลักการ ALGEE(6)

หลักการ ALGEE ไม่ใช่การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรค แต่คือแนวทางให้การสนับสนุนผู้ที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินทางด้านจิตใจ

องค์ประกอบของ ALGEE มีดังนี้

  • A หมายถึง การประเมินความเสี่ยง (Assess) ในเรื่องการฆ่าตัวตายหรือทำร้ายผู้อื่น
  • L หมายถึง การฟังโดยไม่ตัดสิน (Listen) รวมถึงการฟังโดยไม่สั่งสอน เช่น ไม่สอนว่าห้ามทำร้ายตัวเองและทำร้ายผู้อื่น หรือไม่ยกคำสอนทางศาสนามาขู่ให้กลัวความตาย เป็นต้น
  • G หมายถึง การให้ความมั่นใจและให้ข้อมูล (Give reassurance and information)
  • E หมายถึง สนับสนุนให้ผู้เสียหายได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ (Encourage the person to seek appropriate professional help)
  • E หมายถึง สนับสนุนให้ผู้เสียหายมองหาเครือข่ายสนับสนุน หรือ Support system ที่อาจมีอยู่รอบตัว และวางแผนการรับมือเมื่อจิตใจตกอยู่ในสภาวะฉุกเฉินอีกครั้ง (Encourage the person to seek self-help and other support strategies)

หลักการ ALGEE ไม่จำเป็นต้องทำตามขั้นตอนเรียงลำดับไปทีละขั้น แต่สามารถประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์หรือทำมากกว่าหนึ่งขั้นตอนไปพร้อม ๆ กันได้ ทั้งนี้ ทักษะการปฐมพยาบาลทางจิตใจเป็นทักษะการทำงานที่สำคัญ ผู้ปฏิบัติงานจึงควรเรียนรู้และฝึกฝนอย่างเป็นระบบเพื่อรับใบประกาศนียบัตรเพิ่มเติมเช่นเดียวกับการปฐมพยาบาลทางกาย

2. หลักการ 3 ส โดยกรมสุขภาพจิต

หลักการ 3 ส ประกอบด้วย

  • ส 1 สอดส่อง มองหา – มองหาคนที่ต้องการความช่วยเหลือ และกลุ่มผู้อาจได้รับผลกระทบทางจิตใจมากกว่าปกติ
  • ส 2 ใส่ใจ – รับฟัง ฟังอย่างตั้งใจและมีสติ
  • ส 3 ส่งต่อ – เชื่อมโยง ส่งต่อผู้เสียหายให้ได้รับบริการจากหน่วยงานที่เชี่ยวชาญ

(6) Mental Health First Aids Canada, Hamilton Health Sciences, 2016.



ยินดีด้วย คุณจบโมดูล 1: สภาวะทางจิตใจ ปฏิกิริยาทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้เสียหาย และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น แล้ว

โมดูลต่อไป >
การฟัง


สารบัญ

แนวทางเบื้องต้นในการทำงานกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว สภาวะทางจิตใจ ปฏิกิริยาทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้เสียหาย และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น สภาวะทางจิตใจ ปฏิกิริยาทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้เสียหาย และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น ผลกระทบของความรุนแรงต่อสมองของผู้เสียหาย สมองในขณะถูกกระทำความรุนแรง สภาวะทางสุขภาพจิตอื่นๆ การดูแลสุขภาพจิตใจในสภาวะฉุกเฉิน การฟัง เตรียมตัวก่อนการรับฟัง การรับฟัง การสะท้อนความรู้สึก Reflection of feelings การบอกจุดแข็งและข้อจำกัด เทคนิคการฟังอย่างง่าย ทบทวนหลักการรับฟัง การประเมินความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงคืออะไร การประเมินความเสี่ยงในกรณีความรุนแรงในครอบครัว การประเมินความเสี่ยงในกรณีความรุนแรงในครอบครัว การระบุสถานการณ์ที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้เสียหาย การวางแผนความปลอดภัย การวางแผนเพื่อความปลอดภัย เครื่องมืออื่น ๆ ในการแสวงหาข้อมูลประกอบการวางแผนช่วยเหลือผู้เสียหาย การแสวงหาข้อเท็จจริง/การสืบค้นข้อเท็จจริง (Fact finding) การทำแผนผังครอบครัว และแผนผังนิเวศน์ ลำดับเหตุการณ์ในชีวิต สรุปแนวทางเบื้องต้นในการทำงานกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว