< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส แนวทางเบื้องต้นในการทำงานกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว

โมดูลที่ 5 - เครื่องมืออื่น ๆ ในการแสวงหาข้อมูลประกอบการวางแผนช่วยเหลือผู้เสียหาย

บทเรียนที่ 2 - การทำแผนผังครอบครัว และแผนผังนิเวศน์


แผนผังครอบครัว (Genogram)

แผนผังครอบครัวเป็นการใช้สัญลักษณ์แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัวอย่างน้อย 3 รุ่น รวมถึงเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในช่วงชีวิต แม้แต่สัตว์เลี้ยง หรือสิ่งสำคัญของชีวิต รวมทั้งอารมณ์ความรู้สึกและความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว

การทำแผนผังครอบครัวจะถูกนำมาใช้เพื่อหาเครือข่ายสนับสนุนที่อาจขาดการติดต่อหรือตกหล่นไป ช่วยประกอบการวางแผนช่วยเหลือผู้เสียหาย ช่วยให้เห็นภาพความสัมพันธ์ที่กำลังแวดล้อมรอบตัวผู้เสียหาย ผู้ให้บริการจะได้ข้อมูลในอดีตซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาในปัจจุบัน ทำให้เข้าใจสถานการณ์และปัญหาของครอบครัวดีขึ้น และวางแผนที่เหมาะสมขึ้น ครอบครัวอาจเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างขณะมองย้อนกลับไปในอดีตเพื่อจัดทำแผนผังครอบครัว

ผู้ปฏิบัติงานควรใช้แผนผังครอบครัวเพื่อการแสดงถึงความสัมพันธ์ทางด้านความผูกพันเชิงอารมณ์และสังคมระหว่างสมาชิกครอบครัวหรือหน่วยสังคมที่บุคคลนั้นเกี่ยวข้อง แผนผังครอบครัวจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานประเมินระดับความสัมพันธ์ ความผูกพัน หรือความใกล้ชิดของสมาชิกในครอบครัวและเครือญาติ และสะท้อนข้อมูลบางอย่างกลับไปสู่ผู้ใช้บริการ

การเขียนแผนผังครอบครัวที่ดี ควรให้ผู้ใช้บริการร่วมเขียนหรือตรวจสอบความถูกต้อง จะได้เป็นการทบทวนความสัมพันธ์กับครอบครัว อีกทั้งการเขียนแผนผังครอบครัวจะทำให้เกิดความกระจ่างชัดในการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบและชัดเจน โดยอาจกำหนดสัญลักษณ์ต่าง ๆ ร่วมกับผู้เสียหาย

ตัวอย่าง:

แผนผังนิเวศน์ (Ecological Mapping)

นอกจากการทำแผนผังครอบครัวแล้ว ผู้ปฏิบัติงานอาจทำ แผนผังนิเวศน์ (Ecological Mapping) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำรวจความสัมพันธ์ของผู้ใช้บริการกับสภาวะแวดล้อมภายนอกครอบครัวที่มีความสำคัญกับตัวผู้ใช้บริการ โดยบางครั้งอาจมีทั้งการแสดงความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวและบุคคลอื่น หรือกับหน่วยงานที่ผู้ใช้บริการมีความสัมพันธ์ด้วย ซึ่งแผนผังนิเวศน์นี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นแหล่งทรัพยากรหรือบุคคลใกล้ตัวที่จะให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายในเบื้องต้นเมื่อต้องประสบปัญหาใดๆ ก็ตาม


(13) โสภา อ่อนโอภาส & นุชนาฎ ยูฮันเงาะ (2564). เครื่องมือในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ภาพประกอบบทเรียน ภาพประกอบบทเรียน



สารบัญ

แนวทางเบื้องต้นในการทำงานกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว สภาวะทางจิตใจ ปฏิกิริยาทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้เสียหาย และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น สภาวะทางจิตใจ ปฏิกิริยาทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้เสียหาย และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น ผลกระทบของความรุนแรงต่อสมองของผู้เสียหาย สมองในขณะถูกกระทำความรุนแรง สภาวะทางสุขภาพจิตอื่นๆ การดูแลสุขภาพจิตใจในสภาวะฉุกเฉิน การฟัง เตรียมตัวก่อนการรับฟัง การรับฟัง การสะท้อนความรู้สึก Reflection of feelings การบอกจุดแข็งและข้อจำกัด เทคนิคการฟังอย่างง่าย ทบทวนหลักการรับฟัง การประเมินความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงคืออะไร การประเมินความเสี่ยงในกรณีความรุนแรงในครอบครัว การประเมินความเสี่ยงในกรณีความรุนแรงในครอบครัว การระบุสถานการณ์ที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้เสียหาย การวางแผนความปลอดภัย การวางแผนเพื่อความปลอดภัย เครื่องมืออื่น ๆ ในการแสวงหาข้อมูลประกอบการวางแผนช่วยเหลือผู้เสียหาย การแสวงหาข้อเท็จจริง/การสืบค้นข้อเท็จจริง (Fact finding) การทำแผนผังครอบครัว และแผนผังนิเวศน์ ลำดับเหตุการณ์ในชีวิต สรุปแนวทางเบื้องต้นในการทำงานกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว