< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส แนวทางเบื้องต้นในการทำงานกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว

โมดูลที่ 3 - การประเมินความเสี่ยง

บทเรียนที่ 2 - การประเมินความเสี่ยงในกรณีความรุนแรงในครอบครัว


การประเมินความเสี่ยงในกรณีความรุนแรงในครอบครัว

ผู้เสียหายจากความรุนแรงระหว่างคู่รักหรือความรุนแรงในครอบครัวมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้เสียหายที่เป็นหญิง อาจมีทางเลือกที่ปลอดภัยและยั่งยืนเพียงไม่กี่ทางในการหนีออกมาจากสามีหรือคู่รักที่ใช้ความรุนแรง บรรทัดฐานทางวัฒนธรรมประเพณีและสังคม และการขาดทรัพยากร ทำให้ผู้หญิงแทบไม่มีโอกาสได้ที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยหรือช่องทางการย้ายถิ่นฐานได้อย่างปลอดภัย ยิ่งไปกว่านั้น ผู้หญิงหลายคนอาจไม่แม้กระทั่งคิดเรื่องการหนีออกมา เพราะถูกสังคมสอนให้เชื่อว่าการถูกทำร้ายในครอบครัวเป็นเรื่องปกติ และผู้หญิงต้องอดทนเพื่อรักษาความเป็นครอบครัวไว้

ต่อให้ผู้ถูกกระทำความรุนแรงตัดสินใจหนีออกมาจากความรุนแรงหรือยุติความสัมพันธ์แล้ว อุปสรรคก็ยังมีอยู่มาก การหนีออกจากผู้ใช้ความรุนแรงอาจให้ผู้กระทำยกระดับความรุนแรงมากขึ้น ทำเกิดอันตรายเพิ่มมากขึ้นต่อผู้เสียหายหรือคนอื่น ๆ โดยผู้กระทำความรุนแรงอาจสะกดรอยตามผู้เสียหาย ออกตามหาและข่มขู่ รวมทั้งอาจข่มขู่คนที่ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายด้วย ด้วยเหตุนี้ ผู้ทำงานให้ความช่วยเหลือจึงไม่ควรกดดันและตัดสินใจแทนผู้เสียหายว่าการหนีเป็นหนทางที่ดีที่สุด ในสถานการณ์ดังกล่าว บทบาทเบื้องต้นในการช่วยเหลือเรื่องความปลอดภัยของผู้เสียหาย ให้มุ่งไปที่วิธีการลดความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงทางกายภาพ และช่วยให้ผู้เสียหายคิดหาทางออกเมื่อถึงเวลาพวกเขาจำเป็นต้องหนีออกมาเป็นการชั่วคราวหรือถาวร

ในขณะเดียวกัน องค์กรและชุมชนก็มีความรับผิดชอบในการสร้างทางเลือกที่ปลอดภัยให้แก่ผู้เสียหาย โดยเฉพาะผู้หญิงและบุตรที่เสี่ยงอันตราย การสร้างทางเลือกนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานที่องค์กรให้บริการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาความรุนแรงสามารถเตรียมพร้อมไว้ในแผนงานของตน เช่น การสร้างเครือข่ายประสานส่งต่อเพื่อการคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหาย การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนและหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้มีบทบาทในการสร้างความปลอดภัยและการปกป้องผู้หญิงและเด็ก และการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระยะยาว

ตัวอย่างข้อบ่งชี้ความเสี่ยงต่อความรุนแรงในครอบครัว

  • มีความถี่/ขนาดความบาดเจ็บที่รุนแรง (ประจำ บ่อย มาก)
  • ผู้กระทำเป็นบุคคลในครอบครัว และยังคงอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน
  • ผู้กระทำเป็นผู้มีอิทธิพลต่อผู้ใช้บริการและครอบครัว
  • มีสมาชิกในครอบครัวใช้สารเสพติด
  • มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเจ็บป่วยทางจิตเวช โดยไม่มีผู้ที่สามารถปกป้องคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้เปราะบางที่อยู่ในครอบครัวได้
  • เด็กและผู้หญิงมีที่อยู่อาศัยที่ไม่มั่นคงปลอดภัย
  • ผู้เปราะบางในครอบครัวขาดผู้ดูแลหลัก หรือผู้ดูแลไม่สามารถควบคุมอารมณ์หรือพฤติกรรมของตนเองได้
  • ผู้ถูกกระทำมีปัจจัยที่เสี่ยงต่อการถูกกระทำซ้ำ เช่น ประวัติการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บที่ไม่ชัดเจน หรือไม่สามารถอธิบายได้
  • ผู้หญิงหรือเด็กมีความคิดและ/หรือมีความพยายามทำร้ายตนเองและ/หรือผู้อื่น




สารบัญ

แนวทางเบื้องต้นในการทำงานกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว สภาวะทางจิตใจ ปฏิกิริยาทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้เสียหาย และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น สภาวะทางจิตใจ ปฏิกิริยาทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้เสียหาย และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น ผลกระทบของความรุนแรงต่อสมองของผู้เสียหาย สมองในขณะถูกกระทำความรุนแรง สภาวะทางสุขภาพจิตอื่นๆ การดูแลสุขภาพจิตใจในสภาวะฉุกเฉิน การฟัง เตรียมตัวก่อนการรับฟัง การรับฟัง การสะท้อนความรู้สึก Reflection of feelings การบอกจุดแข็งและข้อจำกัด เทคนิคการฟังอย่างง่าย ทบทวนหลักการรับฟัง การประเมินความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงคืออะไร การประเมินความเสี่ยงในกรณีความรุนแรงในครอบครัว การประเมินความเสี่ยงในกรณีความรุนแรงในครอบครัว การระบุสถานการณ์ที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้เสียหาย การวางแผนความปลอดภัย การวางแผนเพื่อความปลอดภัย เครื่องมืออื่น ๆ ในการแสวงหาข้อมูลประกอบการวางแผนช่วยเหลือผู้เสียหาย การแสวงหาข้อเท็จจริง/การสืบค้นข้อเท็จจริง (Fact finding) การทำแผนผังครอบครัว และแผนผังนิเวศน์ ลำดับเหตุการณ์ในชีวิต สรุปแนวทางเบื้องต้นในการทำงานกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว